วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผู้หญิงกับ..บุหรี่..



บุหรี่มีพิษภัยต่อผู้สูบอย่างไรนั้น เกือบทุกคนในสังคมตระหนักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
แต่คุณทราบมั้ยว่า ร้อยละ 70 ของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม มาจากครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่ คุณ ทราบมั้ยว่าองค์การยูนิเซฟได้คาดคะเนว่า ถ้าผู้หญิงทุกคนในประเทศที่พัฒนาแล้วหยุดสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ จะมีผลให้อัตราการตายของทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ และการเสียชีวิตของทารกขณะคลอดลดลงถึงร้อยละ 10 จากปัจจุบัน คุณทราบมั้ย ว่า ในภาคเหนือสถิติการสูบบุหรี่ของทั้งเพศหญิงและเพศชายสูงกว่าภาคอื่นๆ และพบว่าทารกแรกเกิดในภาคนี้มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยต่ำกว่าทารกแรกเกิดในภาค อื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง นี้เป็นเพียง สัญญาณบางส่วนที่ตอกย้ำให้สังคมเห็นถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการสูบ บุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้สูบบุหรี่เป็นผู้หญิง

ผู้หญิงไทยสูบบุหรี่น้อย แต่...
จาก การสำรวจสถิติการสูบบุหรี่ของประชากรทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2534 พบว่ามีหญิงไทยสูบบุหรี่จำนวน 837,900 คน ขณะที่ผู้ชายไทยสูบบุหรี่ทั้งสิ้น 10,563,900 คน หรือคิดเป็นผู้หญิงสูบบุหรี่ร้อยละ 3.8 เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการ สูบบุหรี่ของผู้หญิงของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศตะวันตก ซึ่งสูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 20-30 จะเห็นว่าอัตราการสูบบุหรี่ของผู้หญิงไทยต่ำมาก อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ในต่างประเทศ พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นหญิงจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกลยุทธ์ทางการตลาด ของบริษัทบุหรี่ที่พยายามขยายตลาดไปยังเพศหญิงที่ยังมีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำ โดยผลิตบุหรี่สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ เมื่อบวกกับแนวโน้มการสูบบุหรี่ในหมู่วัยรุ่นไทยที่กำลังเพิ่มขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าหากไม่มีการรณรงค์อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ จำนวนหญิงไทยที่สูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ผู้หญิงสูบบุหรี่...น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าผู้ชาย ผู้หญิง ที่สูบบุหรี่ นอกจากจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่นโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกับเพศชายแล้ว ยังมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ผล การศึกษาของสมาคมโรคมะเร็งสหรัฐๆ พบว่า หญิงที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่หรือ ผู้หญิงที่เลิกสูบบุหรี่แล้วถึงร้อยละ 25 โดยพบว่า การสูบบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมลดลง ทำให้โอกาสเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในเซลล์ปากมดลูก ทำให้มีการติดเชื้อไวรัสแปปปิวโลมาบริเวณปากมดลูกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะบุหรี่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง มีผลให้เกิดการติดเชื้อไวรัสแปปปิวโลมาได้ง่าย ซึ่งปากมดลูกที่ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ จะมีอัตราการกลายไปเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นกว่าหญิงทั่วไปถึง 4 เท่า นอก จากนั้น การสูบบุหรี่ยังมีผลให้เกิดความผิดปกติด้านการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงอย่าง มากอีกด้วย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีรอบเดือนมาไม่เป็นปกติมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า และถึงวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติประมาณ 2 ปี ซึ่งมีผลโดยตรงต่อภาวะกระดูกผุหรือเปราะมากขึ้นเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทำให้กระดูกเชิงกรานหักง่ายเมื่อหกล้ม ส่วนผู้หญิงที่สูบบุหรี่และกิน คุมกำเนิดเป็นประจำจะมีโอกาสเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันหรือหัวใจ วายสูงขึ้น 39 เท่า และมีอัตราการตายมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ที่กินยาคุมกำเนิดถึง 3 เท่าตัว ทั้งนี้เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษที่ทำปฏิกิริยากับยาคุม กำเนิด มีผลให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น และเกิดการอุดตันของหลอดเลือดง่ายขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง สำหรับผู้หญิงที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการอักเสบทางอุ้งเชิงกรานมากขึ้นด้วย

บุหรี่..ทำลายความงาม
นอก จากสารพิษจากการสูบบุหรี่จะสะสมเพื่อรอการแสดงอาการของโรคร้ายต่างๆ แล้ว ผลเสียของการสูบบุหรี่ที่มีต่อความสวยงามก็มีมากไม่แพ้กันทีเดียว จาก การวิจัยพบว่า ใบหน้าของผู้สูบบุหรี่มานานพอสมควรจะมีริ้วรอยลึกที่สังเกตเห็นได้ง่าย และมักจะมีผิวสีหมองคล้ำมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ริ้วรอยที่เหี่ยวย่นนั้นมักจะปรากฏเป็นรอยตีนกาที่หางตา และเป็นร่องรอยเหี่ยวย่นที่มุมปาก รวมถึงอาจมีเส้นลึกที่โหนกแก้มอีกด้วย ทั้งนี้เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มักจะต้องหรี่ตาเวลาพ่นควันออกมา เพื่อกันไม่ให้ควันบุหรี่เข้าตา นานๆเข้าจึงทำให้เกิดตีนกาขึ้นได้ สำหรับ ริมผีปากของผู้สูบบุหรี่ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีสีคล้ำกว่าปกติ จนถึงสีเขียวคล้ำ ทั้งนี้เพราะนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายหดตัวตลอดเวลา ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่นตามผิวหนังเร็วขึ้น และมีผลให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังรวมทั้งริมผีปากน้อยลง ขณะเดียวกันเลือดของผู้ที่สูบบุหรี่ก็นำออกซิเจนได้น้อยกว่า ทำให้เลือดมีสีคล้ำกว่าเลือดของคนที่ไม่สูบบุหรี่ ผลก็คือริมผีปากของคนที่สูบบุหรี่จะคล้ำกว่าและผิวหนังกร้านกว่าคนทั่วไป โดย เฉลี่ยแล้ว ผู้ที่สูบบุหรี่จนติด อวัยวะทุกระบบจะเสื่อมหรือแก่เร็วขึ้นประมาณ 10 ปี ผู้ที่ติดบุหรี่จึงมีใบหน้าที่แก่กว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น